อุทัยไม้งาม

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

ปุ๋ย

3. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากสัตว์(หอยเชอรี่)

3.1วิธีการทำปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่

ผู้เผยแพร่ : นายสำรวล ดอกไม้หอม กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร

วัสดุอุปกรณ์

1.เนื้อหอยเชอรี่ที่ไม่มีเปลือก

2.ไข่หอยเชอรี่

3.พืชสดอ่อน/แก่

4.เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก

5.น้ำตาลโมลาส

6.ถังหมักที่มีฝาปิด ขนาดบรรจุ 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร

7.หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

8.ถังบรรจุหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

9.แกลลอน/ถัง บรรจุผลิตผลปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่

10.กรวยกรองปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่

วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

1.เก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติจากตาเปลือกสับปะรดในแปลงปลูกสับปะรดที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโตเต็มที่พร้อมจะเก็บขายสู่ตลาดผู้บริโภค ซึ่งแปลงสับปะรดดังกล่าวจะต้องไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคพืชมาก่อนหน้าที่จะเก็บเชื้อจุลินทรีย์ไม่น้อยกว่า 3 เดือน

2. เฉือนหรือปอกเปลือกสับปะรดให้ติดตาจากผลสับปะรดสุกจำนวน 3 ส่วน สับหรือบดให้ละเอียด แล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาสจำนวน 1 ส่วน นำทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดี พร้อมทั้งใส่น้ำมะพร้าวผสมด้วยจำนวน 1 ส่วน แล้วนำส่วนผสมข้างต้นใส่ภาชนะและปิดฝาด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ 7-10 วัน ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใช้น้ำตาลโมลาสเติมไปพอสมควรแล้วคนให้เข้ากันจนกลิ่นหายไป

3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักได้แล้วจะมีกลิ่นหอมหรืออาจมีกลิ่นเปรี้ยวบ้างเล็กน้อย หรือมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นหัวเชื้อสุราสามารถเก็บในภาชนะที่ปิดผาสนิทในสภาพอุณหภูมิห้องได้นานเป็นปี

วิธีการทำปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่

วิธีที่ 1 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก

นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียดจะได้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือกและน้ำจากหอยเชอรี่และนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาสและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันและนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งปิดฝาทิ้งไว้ อาจจะคนให้เข้ากันหากมีการแบ่งชั้น ให้สังเกตดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใส่

น้ำตาลโมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนกว่าจะหายเหม็น ทำอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าจะไม่เกิดแก๊ซให้เห็นบนผิวหน้าของปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่ แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยอยู่บนผิวหน้าหรือบริเวณข้างถังภาชนะบรรจุ ควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าวตัวใหญ่เต็มที่และตายไปถือว่าการหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็นปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมกับปุ๋ยน้ำอื่นๆใช้ประโยชน์ต่อไป

วิธีที่ 2 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากไข่หอยเชอรี่

นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้น้ำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือก แล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาสและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 3 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากไข่หอยเชอรี่และพืช

นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อนๆหรือส่วนยอดความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบที่หั่นหรือบดละเอียดเช่นกัน แล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วนไข่หอยเชอรี่บดละเอียด:น้ำตาลโมลาส :พืชส่วนอ่อนบดละเอียดและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ คือ 3:3:1:1 แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 4 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่

นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้มในกะทะพร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะ เพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น แล้วนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียด ให้ได้จำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับน้ำตาลโมลาสและน้ำหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 5 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่ และพืชสด

นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 4 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาส และชิ้นส่วนของพืชที่อ่อนๆเหมือนกับวิธีที่ 3 อัตราส่วน เนื้อหอยเชอรี่บดละเอียด:น้ำตาลโมลาส:พืชบดละเอียด:น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3:3:1:1 คนผสมให้เข้ากันอย่างดี แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 6 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และพืชสด

วิธีการนี้เป็นการผสมผสานการทำปุ๋ยน้ำหมักแบบเบ็ดเสร็จไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดควรใช้อัตราส่วนดังนี้ เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือกหรือเนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว:ไข่หอยเชอรี่: พืชอ่อน อัตรา 3:3:5-6:2-3 มีข้อสังเกตเพียงดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมน้ำตาลโมลาส และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติเพิ่มขึ้นจนกว่าจะไม่มีกลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใด ให้ดูลักษณะผิวหน้าของน้ำหมักเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

ผลการวิเคราะห์น้ำหมักหอยเชอรี่

ชนิดน้ำหมัก

pH

%N

%P2O5

%K2O

กรดฮิวมิคแอซิค

อินทรียวัตถุ

1. น้ำหมักจากตัวหอยเชอรี่พร้อมเปลือก

4.9

0.84

-

1.67

3.07

15.13

2. น้ำหมักจากไข่หอยเชอรี่

4.6

1.23

0.60

1.66

4.45

26.51

3. น้ำหมักจากไข่หอยเชอรี่และพืชสด

4.3

0.87

0.90

1.68

4.47

26.67

4. น้ำหมักจากไข่และเนื้อหอยเชอรี่

4.3

1.62

0.64

2.04

4.31

20.44

5. น้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่และพืช

4.2

0.74

0.33

1.83

3.57

30.68

N = ไนโตรเจน P2O5 = ฟอสฟอรัส K2O = โพแทสเซียม

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำหมักจากหอยเชอรี่จะค่อนข้างต่ำ ประมาณ 4.2-4.9 นับว่าเป็นกรดค่อนข้างมาก เวลานำไปผสมหรือนำไปพัฒนาจะต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษกับต้นพืชที่มีลักษณะอ่อนแอต่อการเจริญเติบโตในระยะแรกได้ ในหลักการให้ใช้อัตราเจือจางที่สุดเช่น 5-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร แล้วลองใช้กับพืชที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ก่อน และสังเกตการตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่ / ไข่ / พืช หากไม่แสดงอาการเป็นพิษก็สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้

การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากปลา
ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่

    การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่

    วัสดุอุปกรณ์

    วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

    ผลการวิเคราะห์น้ำหมักจากหอยเชอรี่ / พืช

    อัตราการใช้ปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่ / ไข่หอยเชอรี / พืช

    ฮิวมัส


    วิธีการทำน้ำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่

    วิธีที่ 1 การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก

    นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือกและน้ำจากตัวหอยเชอรี่ แล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาส และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากัน และนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่ง ปิดฝาทิ้งไว้คนให้เข้ากันหากมีการแบ่งชั้น ให้สังเกตดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใส่น้ำตาล โมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนกว่าจะหายเหม็น ทำการคนทุกวันอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าจะไม่เกิดแก๊ซให้เห็นบนผิวหน้าของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าปุ๋ย น้ำหมักดังกล่าว บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยบนผิวหน้าหรือบริเวณข้างถึงภาชนะบรรจุ ควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าว ตัวใหญ่เต็มที่และตายได้ ถือว่าการหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมกับปุ๋ยน้ำอื่นๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป

    วิธีที่ 2 การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากไข่หอยเชอรี่

    นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้น้ำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือกแล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาสและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

    วิธีที่ 3 การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพไข่หอยเชอรี่ และพืช

    นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อน ๆ หรือส่วนยอดความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบ ที่หั่นหรือบดละเอียดแล้วเช่นกัน แล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วน ไข่หอยละเอียด : น้ำตาลโมลาส : พืชส่วนอ่อนบดละเอียด
    และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ คือ 3:3:1:1 แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

    วิธีที่ 4 การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่

    นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้มในกะทะ พร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะ เพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้นและนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียดให้ได้ จำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับน้ำตาลโมลาสและน้ำหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

    วิธีที่ 5 การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ และพืชสด

    นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 4 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาส และชิ้นส่วนของพืชที่อ่อน ๆ เหมือนวิธีที่ 3 อัตราส่วนเนื้อหอยเชอรี่บดละเอียด : น้ำตาลโมลาส: พืชบดละเอียด : น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3:3:1:1 คนผสมให้เข้ากันอย่างดี แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

    วิธีที่ 6 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และพืชสด

    วิธีการนี้เป็นการผสมผสานการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิด ควรใช้อัตราส่วนดังนี้ เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก หรือเนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว : ไข่หอยเชอรี่ : พืชอ่อน : น้ำตาลโมลาส : น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์
    อัตรา 3:3:5 – 6:9-10 : 5-6 มีข้อสังเกตเพียงดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมน้ำตาลโมลาส และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติเพิ่มขึ้นจนกว่าจะไม่มีกลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใด ให้ดูลักษณะผิวหน้าของน้ำหมักเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

    วัสดุอุปกรณ์

      1. เนื้อหอยเชอรี่ที่ไม่มีเปลือก
      2. ไข่หอยเชอรี่
      3. พืชสดอ่อน/แก่
      4. เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก
      5. น้ำตาลโมลาส
      6. ถังหมักที่มีฝาปิด ขนาด 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร
      7. หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ
      8. ถังบรรจุหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ
      9. แกลอน/ถัง บรรจุผลิตผลปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่
      10. กรวยกรองปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่

    วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

        1. เก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติจากตาเปลือกสับปะรด ในแปลงปลูกสับปะรดที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโตที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวส่งขายตลาดเพื่อบริโภค ซึ่งแปลงสับปะรดดังกล่าวจะต้องไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคพืชมาก่อนหน้าที่จะเก็บเชื้อจุลินทรีย์ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
        2. เฉือนหรือปอกเปลือกสับปะรดให้ติดตาจากผลสับปะรดสุก จำนวน 3 ส่วน สับหรือบดให้ละเอียด แล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาส จำนวน 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดี พร้อมทั้งใส่น้ำมะพร้าวผสมด้วย จำนวน 1 ส่วน แล้วนำส่วนผสมข้างต้นใส่ภาชนะและปิดฝาด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ 7-10 วัน ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใช้น้ำตาลโมลาสเติมลงไปพอสมควรแล้วคนให้เข้ากันจนกลิ่นหายไป
        3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักได้ที่แล้ว จะมีกลิ่นหอมหรือมีกลิ่นเปรี้ยวบ้างเล็กน้อย หรือมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นหัวเชื้อสุรา สามารถเก็บในภาชนะที่ปิดฝาสนิทในสภาพอุณหภูมิห้องได้นานเป็นปี

    ผลการวิเคราะห์น้ำหมักจากหอยเชอรี่/พืช


    ชนิดน้ำหมัก

    pH

    EC


    N


    P2O5


    K2O

    กรดฮิวมิคแอซิค

    อินทรีย์วัตถุ

    %

    %

    %

    %

    %

    1. น้ำหมักจากตัวหอยเชอรี่พร้อมเปลือก

    4.9

    17,350

    0.84

    -

    1.67

    3.07

    15.13

    2. น้ำหมักจากไข่หอยเชอรี่

    4.6

    17,020

    1.23

    0.06

    1.66

    4.45

    26.51

    3. น้ำหมักจากไข่หอยเชอรี่และพืชสด

    4.3

    16,110

    0.87

    0.90

    1.68

    4.47

    26.67

    4. น้ำหมักจากไข่และเนื้อหอยเชอรี่

    4.3

    12,280

    1.62

    0.64

    2.04

    4.31

    20.44

    5. น้ำหมักจากหอยเชอรี่และพืชสด

    4.2

    14,540

    0.74

    0.33

    1.83

    3.57

    30.68

    N = ไนโตรเจน K2O = โปรแตสเซี่ยม P2O5 = ฟอสฟอรัส EC = ค่าแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า
    หน่วยเป็น micro-mhos/cm at 25 o C

    ที่มา : กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร

    จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำหมักจากหอยเชอรี่ พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่จะค่อนข้างต่ำ ประมาณ 4.2 – 4.9 นับว่าเป็นกรดค่อนข้างมาก และค่าการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าค่อนข้างสูงมากเช่นกัน เวลานำไปผสมหรือนำไปพัฒนาจะต้องระมัดระวัง การนำไปใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษกับต้นพืชที่มีลักษณะอ่อนระยะการเจริญโตแรกได้ ในหลักการให้ใช้อัตราเจือจางที่สุด เช่น 5-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร แล้วลองใช้กับพืชที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ก่อน และสังเกตุการตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่/ไข่/พืช หากไม่แสดงอาการเป็นพิษก็สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้

    จากค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม จะพบว่าปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากเนื้อ หอยเชอรี่ และไข่หอยเชอรี่ มีปริมาณค่อนข้างใช้ได้อย่างดี เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยหมักจากพืชและ มูลสัตว์ทั่วไป

    ส่วนคุณค่าของผลการวิเคราะห์พบว่าในปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่/พืช มีค่าของ กรดฮิวมิคที่ค่อนข้างดีมาก เนื่องจากกรดฮิวมิคนี้มีประโยชน์ต่อพืชและดินอย่างสูง ซึ่งจะอธิบายต่อไป

    ในภาพรวมของคุณค่าปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่/ไข่หอยเชอรี่/พืช มีปริมาณคุณค่าอาหารพืชที่มีประโยชน์ต่อพืชและคุณสมบัติต่อดินอย่างมีคุณค่าอนันต์ เพราะว่ามีหัวเชื้อ จุลินทรีย์ธรรมชาติ และผลิตผลของหัวเชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติผสมอยู่ด้วย นอกจากนี้หากพิจารณาจากผลการวิเคราะห์คุณค่าน้ำตาลโมลาส พบว่ามีคุณค่าอาหารพืชชนิดต่าง ๆ ดีมาก และมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช และสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ พร้อมทั้งยังส่งเสริมให้พืชมีความแข็งแรงทนทานต่อการทำลายของแมลงและศัตรูพืชอีกด้วย ซึ่งดูได้จากหน้าที่ของธาตุอาหารพืช และอื่น ๆ จากส่วนประกอบของกากน้ำตาล หรือน้ำตาลโมลาส ดังนี้

    ส่วนประกอบของกากน้ำตาลหรือน้ำตาลโมลาส

    น้ำ

    20.65

    ซูโครส

    36.60

    ริคิวซิงซูการ์

    13.00

    น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อ

    50.10

    เถ้าซัลเฟต

    15.00

    ยางและแป้ง

    3.43

    ขี้ผึ้ง

    0.38

    ไนโตรเจน

    0.95

    ซิลิกาในรูป SiO2

    0.46

    ฟอสเฟต P2O5

    0.12

    โปแตสเซี่ยม K2O

    4.19

    แคลเซียม CaO

    1.35

    แมกนีเซียม MgO

    1.12


    อัตราการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่/ไข่หอยเชอรี่/พืช

    พืชที่มีอายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตรา 1: 500-10,000 หรือจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่าอัตราที่เหมาะสมคือ 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ทุก 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิด อายุ ช่วงการเจริญเติบโตของแต่ละพืชว่าเป็นพืชผัก ไม้ดอก-ไม้ประดับ ไม้ผล-ไม้ยืนต้น พืชไร่ ข้าว เป็นต้น ซึ่งยังต้องการข้อมูลจากการทดสอบอีกมาก


    ฮิวมัสคืออะไร

    ฮิวมัส คือ อินทรีย์วัตถุที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างให้มีขนาดเล็กอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุลินทรีย์และสารเคมี มีโครงสร้างสลับซับซ้อนคงทนต่อการสลายตัว รูปร่างไม่แน่นอน มีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลดำ มีองค์ประกอบทางเคมี คือ คาร์บอนไฮโตรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน และธาตุอื่น ๆ

    ขบวนการเกิดฮิวมัสใต้ดิน

    ภาพแสดงอินทรีย์วัตถุที่แทรกเข้าไปอยู่ในดินเหนียวและดินทราย

    จากภาพจะเห็นได้ว่าฮิวมัสจะทำหน้าที่เข้าไปแทรกอยู่ในดินเหนียวและดินทรายจะช่วยให้อนุภาพของดินทั้งสองแยกออกจากกัน ทำให้ดินร่วนหรือดินโปร่งขึ้น ทำให้อากาศสามารถแทรกเข้าไปอยู่ในระหว่างอนุภาคของดินเหนียว มีการระบายน้ำ อากาศ และนำแร่ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ง่ายต่อการถูกดึงดูดไปใช้จากรากพืช ทำให้พืชแข็งแรง สมบูรณ์ มีความทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช

    ภาพแสดงการดูดซับธาตุอาหารพืชของอินทรีย์วัตถุ

    เมนูหลัก | การทำปุ๋ยน้ำหมัก

    ที่มา : นายสำรวล ดอกไม้หอม หัวหน้ากลุ่มงานสัตว์ศัตรูพืช กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร


คลังบทความของบล็อก